Pages

Sunday, August 9, 2020

สสส.ดัน "จดสิทธิบัตร" นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ผลงานเยาวชนสู่ชุมชน - มติชน

seserpeer.blogspot.com
สสส. หนุนจดสิทธิบัตร ต่อยอดเชิงธุรกิจงานนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ THAIHEALTH INNO AWARDS 2019 ด้านอาชีวศึกษา เตรียมผลักดันนักศึกษาทั่วประเทศผลิตนวัตกรรมสุขภาพสู่ชุมชน

เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ที่วัดล่ามช้าง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ติดตามผลงานความก้าวหน้าการพัฒนา “นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ” ของเยาวชนนักนวัตกรรม จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศและรางวัลรองชนะอันดับ 1 ระดับอาชีวศึกษา จากการประกวด THAIHEALTH INNO AWARDS ครั้งที่ 2 ที่ประกาศผลเมื่อช่วงต้นปี 2563

นายณัฐพันธุ์ ศุภกา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ สสส. กล่าวว่า สสส. เชื่อว่าคนรุ่นใหม่มีความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ปัญหาสังคม และลุกขึ้นมาจัดการแก้ไขด้วยตัวเอง จึงจัดโครงการประกวด THAIHEALTH INNO AWARDS โดยเปิดรับทั้งแนวคิดหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ จนเกิดเป็นผลงานสร้างเสริมสุขภาพ สอดรับแนวทางการดำเนินงานของ สสส. ที่มุ่งแก้ไขต้นเหตุอันก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ ดังนั้นนวัตกรรมที่ส่งประกวดจึงควรสร้างการเปลี่ยนแปลง เช่น ด้านนโยบายสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน การปรับเปลี่ยนระบบบริการสุขภาพ การสร้างทักษะและพฤติกรรมส่วนบุคคล ซึ่งการลงพื้นที่ครั้งนี้เพื่อติดตามผลว่านวัตกรรมที่ได้รับรางวัลไปก่อนหน้านี้ เกิดการพัฒนาต่อยอดอย่างไร ซึ่ง สสส. ได้แนะนำให้มีการจดสิทธิบัตร หลังพบว่ามีหลายชิ้นงานต่อยอดไปสู่เชิงธุรกิจ

นายนิพนธ์ หย่งกิจ ผอ.วิทยาลัยเทคนิคสารภี จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ทีม “ต้นยางสารภี” ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับอาชีวศึกษาผลงาน “เครื่องสลัดน้ำมันจากการทอด” ต่อมาได้พัฒนาปรับปรุงเครื่อง โดยปรับขนาดเครื่องให้มีน้ำหนักพอดีกับการใช้งาน เคลื่อนย้ายสะดวก มีมือจับสำหรับหมุน และอุปกรณ์ทำด้วยสแตนเลสเพื่อความแข็งแรงทนทานไม่เป็นสนิม จากการทดสอบกับอาหารประเภททอด ได้แก่ ไก่ทอด กล้วยทอด มันทอด ลูกชิ้นทอด ด้วยการหมุนเครื่องเป็นเวลา 30 วินาที โดยเครื่องสามารถสลัดน้ำมันได้ 8.86 กรัม เทียบกับการเอาอาหารวางทิ้งไว้ 5 นาทีปล่อยให้น้ำมันไหลเอง ได้น้ำมัน 2.91 กรัม ผลต่างเฉลี่ยเท่ากับ 5.95 กรัม แสดงว่าเครื่องสลัดน้ำมันจากการทอดสามารถสลัดน้ำมันออกได้ในปริมาณที่มากกว่า และใช้เวลาน้อยกว่า ส่วนผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้พบว่ามีความพึงพอใจในระดับดีมาก เป็นทางออกที่ดีสำหรับคนรักสุขภาพ เนื่องจากรสชาติอาหารที่ได้จากการทอดยังคงเดิม แต่ปริมาณน้ำมันในอาหารลดลง ลดภาวะเสี่ยงเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) ปัจจุบันมีผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กทั่วประเทศติดต่อเข้ามาขอซื้อเครื่อง ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการจดสิทธิบัตร

เครื่องสลัดน้ำมันจากการทอด

ด้าน นางนฤมล อัคคพงศ์พันธุ์ ครูประจำแผนกวิชาการจัดการ วิทยาลัยอาชีวศึกษา จ.เชียงใหม่ ในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาทีม CMVC Healthy Plus รางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ 1 ระดับอาชีวศึกษา ผลงาน “Care Share Team สุขภาพสู่ชุมชน” กล่าวว่า นวัตกรรม Care Share Team เป็นนวัตกรรมเชิงกระบวนการ ขับเคลื่อนโดยเครือข่ายจิตอาสา ผลิตนวัตกรรมสุขภาพวิชาโครงการ ตามแนวคิด Design Thinking เพื่อให้เกิดการ “ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมใช้นวัตกรรม” ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เพื่อแก้ปัญหาและสร้างเสริมสุขภาพให้คนในชุมชนล่ามช้าง โดยรวบรวมนวัตกรรมกว่า 20 นวัตกรรมสู่ชุมชนในรูปแบบการจัดกิจกรรม ผลงานที่โดดเด่น คือ นวัตกรรมลดขยะในชุมชนโดยการนำเปลือกส้มที่เหลือจากร้านค้าในชุมชนมาผลิตเป็น “เทียนหอมไล่ยุงจากเปลือกส้ม” เพื่อใช้จุดป้องกันยุง ให้ความหอมและจุดเป็นผางประทีปในประเพณีลอยกระทง ซึ่งกำลังต่อยอดเชิงธุรกิจเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการท่องเที่ยวในชุมชน กิจกรรมเข้าถึงอาสาบริการชุมชน มีส่วนร่วมในวัฒนธรรมชุมชนทำให้เกิดการเข้าถึง เข้าใจและพัฒนา เช่น การประยุกต์ท่าฟ้อนบาเจิงเพื่อใช้เป็นท่าออกกำลังกายและสร้างเสริมวัฒนธรรมร่วมกับชุมชน สอนการนวดและผลิตอุปกรณ์ออกกำลังกายเพื่อใช้ในชุมชน ผลิตสื่อรณรงค์ป้องกันฝุ่นพีเอ็ม 2.5 และเว็บไซต์ชุมชนล่ามช้าง

เทียนหอมไล่ยุงจากเปลือกส้ม

นายชัยมงคล เสนาสุ ผอ.สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า ขอชื่นชม สสส. ที่จัดโครงการประกวดดังกล่าวขึ้น จุดเด่นคือช่วยตอบโจทย์การดูแลป้องกันสุขภาพของคนทุกเพศทุกวัย ที่ผ่านมาเรามักจะคุ้นชินกับนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์อำนวยความสะดวกในชีวิตมากกว่า ตนรู้สึกชื่นชมนักศึกษาจากทั้งสองสถาบันที่สามารถคิดค้นสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสุขภาพ โดยมีเป้าหมายคือชุมชนคนใกล้ตัว นับว่าตรงกับความมุ่งหวังของการเรียนการสอน หลังจากนี้ทางอาชีวศึกษาจะศึกษาใช้โมเดลเหล่านี้ สนับสนุนหลักสูตรให้นักศึกษาทั่วประเทศผลิตความรู้หรือชิ้นงานสร้างประโยชน์ให้คนในชุมชนต่อไป

ทั้งนี้ สสส. ขอเชิญชวนเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช. หรือเทียบเท่า) ร่วมส่งไอเดียหรือผลงานนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพเข้าประกวด ในโครงการ THAIHEALTH INNO AWARDS 2020 ภายใต้แนวคิด ‘ชีวิตดีเริ่มที่เรา’ เปิดรับไอเดียหรือผลงานแล้วตั้งแต่วันนี้ – 6 ตุลาคม ติดตามรายละเอียดได้ทาง https://ift.tt/31xcOni

Let's block ads! (Why?)



"สุขภาพ" - Google News
August 09, 2020 at 05:21PM
https://ift.tt/33L0h2i

สสส.ดัน "จดสิทธิบัตร" นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ผลงานเยาวชนสู่ชุมชน - มติชน
"สุขภาพ" - Google News
https://ift.tt/2TYvbic

No comments:

Post a Comment