Pages

Monday, August 31, 2020

ลางาน 6 เดือน ได้ค่าจ้าง ต้นแบบพม่า สกัดเหลื่อมล้ำสุขภาพเด็กไทย - ไทยรัฐ

seserpeer.blogspot.com

สะท้อนความจริง หยุดความเหลื่อมล้ำเท่ากับหยุดส่งต่อความยากจน 3 ปัจจัยก่อ "ความเหลื่อมล้ำ" สุขภาพเด็กปฐมวัย แนะใช้ต้นแบบพม่า แนวทางแม่มีโอกาสเลี้ยงลูก

แม้สังคมจะพัฒนาและก้าวหน้า แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงมีอยู่ในทุกยุคสมัยคือ “ความเหลื่อมล้ำ” โดยเฉพาะการเข้าถึงบริการสุขภาพที่เป็นปัญหาในเชิงโครงสร้าง ฝังรากลึกสังคมไทยมายาวนาน ไม่ว่าจะผ่านมากี่รัฐบาลก็ไม่สามารถขุดรากถอนโคนปัญหานี้ได้

ความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงบริการสุขภาพนั้นเกิดขึ้นทุกวัย แต่วันนี้จะโฟกัสที่ “สุขภาพเด็กปฐมวัย” ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากเพราะจะช่วยแก้ปัญหาในอนาคตได้ แต่ถูกสังคมมองข้าม

ความเหลื่อมล้ำส่งผลต่อสุขภาพและพัฒนาการของเด็กปฐมวัย คือ เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 0- 5 ปี ได้อย่างไรนั้น ผศ.ดร.ภัททา เกิดเรือง มีข้อมูลวิเคราะห์ จากการร่วมทำงานกับศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยใช้ข้อมูลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในปี พ.ศ. 2558-2559

“หากนิ่งเฉยต่อปัญหาสุขภาพและพัฒนาการของเด็กปฐมวัยที่เกิดจากความเหลื่อมล้ำ นั่นย่อมเท่ากับว่าเรากำลังส่งต่อความยากจนไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน ความเหลื่อมล้ำจะยิ่งกว้างมากขึ้น”

ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ ผศ.ดร.ภัททา พร้อมทีมศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคมฯ หันมาให้ความสำคัญต่อความเหลื่อมล้ำใน ‘เด็กปฐมวัย’ หรือเด็กก่อนวัยเรียน เนื่องจากสุขภาพทางกายภาพและพัฒนาการของเด็กเป็นสิ่งสำคัญบ่งบอกอนาคตของเด็ก โดยงานวิจัยทั้งในไทยและต่างประเทศ พบว่าสุขภาพของเด็ก มีผลต่อโอกาสทางการศึกษา สุขภาพในวัยผู้ใหญ่ รวมถึงความสำเร็จในหน้าที่การงานด้วย

3 ปัจจัยก่อ "ความเหลื่อมล้ำ" สุขภาพเด็กปฐมวัย

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสุขภาพเด็กปฐมวัย นั่นคือ “ความมั่งคั่งของครัวเรือน” ซึ่งแบ่งเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ยากจนมาก ยากจน ปานกลาง ร่ำรวย และร่ำรวยมาก โดยในครัวเรือนที่ “รวย” แม่เลี้ยงดูเองอย่างเต็มที่ใกล้ชิด เด็กมักมีสุขภาพและพัฒนาการที่ดี เพราะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน รวมทั้งมีโอกาสการเข้าถึงสื่อการเรียนรู้มากกว่าเด็กที่ “จน” กว่า อาทิ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม สิ่งแวดล้อม โอกาสทางการศึกษา

ความแตกต่างทางด้านรายได้และเวลาของครอบครัวนี้เองจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดสุขภาพและพัฒนาการของเด็กปฐมวัย นอกจากนี้สาเหตุของความเหลื่อมล้ำมีอีก 2 ปัจจัย คือ การเลี้ยงดู ลักษณะที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา

เด็กที่เติบโตในครอบครัวยากจน จากสถิติพรรณนาเด็กเด็ก 40% ในภาคอีสานที่ไม่ได้อยู่กับแม่ เพราะแม่ออกบ้านไปทำงานหาเงินหรือส่งเงินมาเลี้ยงดู มีเด็กเพียงร้อยละ 64 เท่านั้นที่อยู่กับแม่ ที่เหลืออยู่ในความดูแลของผู้อื่น อาทิ ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ด้วยฐานะทางครอบครัวส่งผลให้เด็กมีน้ำหนักน้อยเกินเกณฑ์เมื่อเทียบกับอายุ บางคนผอม แคระแกร็น เตี้ย ขาดสารอาหารในระยะยาว และจากข้อมูลงานวิจัยระบุว่ารายจ่ายด้านสุขภาพสำหรับเด็กที่เติบโตในครอบครัวยากจนจะน้อยกว่า

“จากงานวิจัยฯ เด็กที่สุขภาพไม่ดี มีโอกาสหยุดเรียนกลางคันเยอะกว่า ถ้าแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในเด็กได้ ให้เด็กมีสุขภาพดีจะช่วยให้ในอนาคตเขามีโอกาสทางการศึกษาที่ดี ได้ทำงานที่ดี มีโอกาสพ้นความยากจน เพราะเด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า” ผศ.ดร.ภัททาให้ความเห็น

ต้นแบบพม่า หยุดงาน 6 เดือน แนวทางแม่ฐานะแย่ มีโอกาสเลี้ยงลูก 

แนวทางการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ส่งผลต่อสุขภาพและพัฒนาการในเด็กปฐมวัย “ผศ.ดร.ภัททา” มองว่า ไม่ใช่งานของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นงานของสังคม ของประเทศ ซึ่งเมืองไทยไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก ถึงแม้รัฐบาลให้เงินอุดหนุนกับครอบครัวที่ยากจนเดือนละ 600 บาท นั้นยังไม่เพียงพอ ซึ่งหากรัฐ และสังคมยังนิ่งเฉยกับปัญหาความเหลื่อมล้ำต่อสุขภาพและพัฒนาการของเด็กปฐมวัย นอกจากเป็นการส่งต่อความยากจนไปยังรุ่นต่อๆ ไปแล้ว ความเหลื่อมล้ำจะยิ่งแผ่กว้างมากขึ้นเรื่อยๆ

“ผศ.ดร.ภัททา” แนะภาครัฐต้องให้ความช่วยเหลือ โดยมี “ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก” ที่มีคุณภาพให้เพียงพอ รวมถึงหากผู้หญิงที่ต้องทำงานและไม่มีคนทางบ้านช่วยเลี้ยงดูลูกให้มีสุขภาพดีได้ รัฐฯ ควรมีนโยบาย “ขยายเวลาให้พ่อและแม่ลางานเพื่อเลี้ยงดูบุตร” โดยได้ค่าจ้าง จากเดิมลาคลอดได้ 3 เดือน ขยายเวลาเพิ่มเป็น 6 เดือนเหมือนพม่า หรือเพิ่มความยืดหยุ่นเวลาเข้าออกงานให้พนักงานที่มีลูกเล็ก

“ความเหลื่อมล้ำในสุขภาพเด็กมีเยอะจริงๆ แล้วอนาคตสังคมต้องพึ่งพาคนกลุ่มนี้ หากขาดคุณภาพสุขภาพตั้งแต่เด็ก ต่อไปในอนาคตสังคมไทยจะเป็นอย่างไร อยากฝากสังคมและรัฐมองถึงปัญหาตรงนี้บ้าง” ผศ.ดร.ภัททา กล่าวทิ้งท้าย

อ่านเพิ่มเติม...

Let's block ads! (Why?)



"สุขภาพ" - Google News
September 01, 2020 at 06:01AM
https://ift.tt/31IwmGA

ลางาน 6 เดือน ได้ค่าจ้าง ต้นแบบพม่า สกัดเหลื่อมล้ำสุขภาพเด็กไทย - ไทยรัฐ
"สุขภาพ" - Google News
https://ift.tt/2TYvbic

No comments:

Post a Comment