เมื่อวันที่ 25 มิ.ย 2563 ณ อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (Thailand Physical Activity Knowledge Development Centre : TPAK) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมเสวนาออนไลน์ในหัวข้อ “ความสำคัญของกิจกรรมทางกายกับคนไทย บนชีวิตวิถีใหม่” มุ่งผนึกกำลังภาคีเครือข่ายฟื้นระดับการมีกิจกรรมทางกายของคนไทยให้กลับคืนสู่ระดับปกติ หลังได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างหนัก
ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุน สสส. เปิดเผยว่า ข้อมูลจาก TPAK ช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนไทยลดลงจากร้อยละ 75 มาอยู่ที่ร้อยละ 55 จึงจำเป็นต้องฟื้นฟูระดับการมีกิจกรรมทางกายของคนไทยเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว สสส. ขับเคลื่อนการดำเนินงานโดยใช้ยุทธศาสตร์ไตรพลัง
ได้แก่ 1.การรณรงค์สื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักผ่านสื่อสาธารณะและการสื่อสารหลายลักษณะ 2.การร่วมขับเคลื่อนให้เกิดนโยบายซึ่งจะเป็นพลังที่ส่งผลกระทบสู่สังคมวงกว้าง และ 3.พลังความรู้ถือเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนและผลักดันนโยบายที่ต้องใช้ข้อมูลทางวิชาการที่เชื่อถือได้
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส เปิดเผยว่า การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประชากรทุกช่วงวัย สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งในมิติช่วงวัยและมิติเชิงพื้นที่ อาทิ ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายในชั่วโมงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ การเพิ่มพื้นที่สุขภาวะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักในสังคมด้วยการสื่อสารความรู้ด้านการมีกิจกรรมทางกายที่ถูกวิธี การพัฒนาชุดความรู้
โดยส่วนหนึ่งใช้ฐานข้อมูลการสำรวจและวิเคราะห์ที่ร่วมกับ TPAK มาประกอบการตัดสินใจและกำหนดนโยบายให้เหมาะสมกับสถานการณ์มากที่สุด ที่ผ่านมา ได้ร่วมขับเคลื่อนให้เกิดแผนปฏิบัติการโลกเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (GAPPA) และผลักดันให้เกิดแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ. 2561-2573 นับเป็นนโยบายระดับชาติ
ด้าน ผศ.ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา หัวหน้า TPAK สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า TPAK มีข้อเสนอแนะ 5 มาตรการ หรือ 5 ปมในการมีกิจกรรมทางกายและลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของประชากรไทย โดย TPAK คือ 1.การรณรงค์เพื่อสื่อสารและสร้างการรับรู้เกี่ยวกับความหมายและประโยชน์ของกิจกรรมทางกายในหลากหลายมิติ 2.การเผยแพร่แนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องและสร้างแรงจูงใจในการมีกิจกรรมทางกายจากที่บ้าน
3.การสนับสนุนให้ชุมชนเป็นฐานในการริเริ่มการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการใช้ประโยชน์สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะอย่างปลอดภัย 4.การส่งเสริมให้เกิดความร่วมรับผิดชอบอย่างจริงจังในการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมทักษะและพัฒนาการตามช่วงวัยในเด็กและเยาวชน และ 5.การส่งเสริมให้เกิดการยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยและปลอดเชื้อในการจัดกิจกรรมสุขภาพและกีฬามวลชน
“TPAK มีเป้าหมายการดำเนินงาน 3 ระยะ คือ ระยะ 1 พัฒนาองค์ความรู้เพื่อให้เกิดความพร้อมในการสนับสนุนการทำงานของภาคีเครือข่าย ระยะ 2 ขับเคลื่อนการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 TPAK มีการปรับแนวทางการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความต้องการของสังคม ภาคีที่เกี่ยวข้องได้ใช้ประโยชน์ และระยะ 3 องค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายที่ถูกพัฒนาขึ้นจะได้รับการยอมรับและนำไปใช้ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม รวมถึงผลผลิตทางวิชาการได้รับการนำไปอ้างอิงทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ให้สอดคล้องและสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนงานส่งเสริมกิจกรรมทางกายตามเป้าหมายทั้งในระดับชาติและระดับโลก” ผศ.ดร.ปิยวัฒน์ กล่าว
"สุขภาพ" - Google News
June 25, 2020 at 04:40PM
https://ift.tt/2VhzFBb
'TPAK' ชูเล่น-เรียน-รู้ สร้างสุขภาพหลังโควิด-19 - เดลีนีวส์
"สุขภาพ" - Google News
https://ift.tt/2TYvbic
No comments:
Post a Comment