Pages

Saturday, August 1, 2020

เทคนิคการเลือกซื้อ "ประกันสุขภาพ" ก่อนซื้อ ต้องดูอะไรบ้าง! - ไทยรัฐ

seserpeer.blogspot.com

บางวันจะมีตัวแทนประกันโทรศัพท์มาเสนอแผนประกันสุขภาพ ซึ่งหากฟังและเปรียบเทียบแผนประกันสุขภาพให้ดีจะพบว่ามีความคุ้มค่าด้านการรักษาพยาบาลทั้งแบบผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน โดยให้ความคุ้มครองค่ารักษา หรือชดเชยรายได้รายวันที่แตกต่างกันออกไป วันนี้ไทยรัฐออนไลน์มีวิธีการเลือกซื้อประกันสุขภาพแบบคุ้มค่ามาฝากกัน


การเลือกซื้อประกันสุขภาพจำเป็นไหม

รถยนต์ออกจากศูนย์ยังต้องทำประกัน ร่างกายย่อมมีเสื่อมสภาพจะต้องทำประกันหรือไม่นั้น ประโยคนี้เป็นวลีเด็ดที่นักขายประกันนำมาจูงใจผู้ฟัง ซึ่งเหตุผลก็เป็นไปตามนั้นจริงๆ เพราะออกรถใหม่เรารักรถ เรายังต้องทำประกันให้เผื่อกรณีไปชน หรือต้องเคลมขึ้นมา ส่วนสุขภาพร่างกายของเราที่ต้องใช้งานทุกวันก็เลือกแผนทำประกันเพื่อรองรับค่ารักษาในอนาคตได้

แต่ก่อนจะเลือกซื้อประกัน ก็ต้องรู้ความต้องการของตัวเองคร่าวๆ ก่อนที่จะต้องจ่ายเบี้ยทิ้งไปอย่างเกินความจำเป็น

วิธีเลือกซื้อประกันสุขภาพ และวิธีเปรียบเทียบ 2563

ประกันสุขภาพคือการจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่เกิดจากอาการเจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุ (แต่หากเป็นประกันอุบัติเหตุ ก็จะคุ้มครองเฉพาะเกิดอุบัติเหตุเท่านั้น) ก่อนที่คุณจะเลือกซื้อประกันสุขภาพต้องรู้ก่อนว่าจ่ายแล้วคุ้มครองอะไรบ้าง

ความคุ้มครองของประกันสุขภาพ
ประกันสุขภาพคุ้มครองเบื้องต้น 3 อย่าง ได้แก่ 1) ผู้ป่วยใน 2) ผู้ป่วยนอก และ 3) อื่นๆ

โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ผลประโยชน์ชดเชยสำหรับผู้ป่วยใน (IPD)

บริษัทประกันภัยจะชดเชยจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นเมื่อคุณต้องนอนโรงพยาบาล ได้แก่ ค่าห้องผ่าตัด, ค่าอาหาร, ค่ายา, ค่าแพทย์เยี่ยม, ค่าผ่าตัด, ค่ารถพยาบาล และอุปกรณ์อื่นๆ ซึ่งต้องดูรายละเอียดดีๆ ว่าแผนประกันสุขภาพนั้น ระบุว่าต้องนอนโรงพยาบาลกี่ชั่วโมง ส่วนใหญ่อยู่ที่ 8 ชั่วโมงขึ้นไป

หมายเหตุ * แผนประกันสุขภาพส่วนใหญ่ระบุจ่ายค่าชดเชย IPD

  • ผลประโยชน์ชดเชยสำหรับผู้ป่วยนอก (OPD)

บริษัทประกันภัยจะจ่ายชดเชยให้กรณีคุณได้เข้ารักษาแบบไม่ต้องนอนค้างโรงพยาบาล มักจะเป็นอาการบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยเล็กน้อยเบื้องต้น เช่น ปวดหัว ปวดท้อง ท้องเสีย เป็นต้น

หมายเหตุ * แผนประกันสุขภาพบางแผนไม่ให้ความคุ้มครอง OPD

  • ผลประโยชน์อื่นๆ หรือ เอกสารแนบท้าย

บริษัทประกันภัยอาจจะเพิ่มความคุ้มครองให้กับผู้เอาประกันภัย ด้วยการระบุในเอกสารแนบท้าย ซึ่งเป็นความคุ้มครองเพิ่มเติมจากแผนสุขภาพหลักที่ปกติไม่จ่ายค่าชดเชย ดังนั้นหากต้องการความคุ้มครองเพิ่มก็จะต้องจ่ายเบี้ยเพิ่มจากกรมธรรม์หลัก ได้แก่อาการต่อไปนี้

- ทันตกรรม
- คลอดบุตร
- ค่าดูแลโดยพยาบาลพิเศษ
- การรักษาอาการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยที่มีค่าใช้จ่ายสูง


ขั้นตอนการซื้อประกันสุขภาพ

ศึกษาแผนประกันภัย
หากคุณมีแผนประกันภัยที่ต้องการซื้ออยู่แล้วให้เปรียบเทียบหลายๆ เจ้า ทั้งการให้ความคุ้มครอง และเงื่อนไขการเคลม รวมถึงข้อยกเว้นต่างๆ ที่แผนประกันสุขภาพนั้นไม่คุ้มครอง

กรอกเอกสารเพื่อรับรองสุขภาพ
เอกสารการสมัครนี้จะให้ผู้เอาประกันภัยแถลงสุขภาพ เช่น เคยมีอาการเจ็บป่วยโรคใดโรคหนึ่งที่ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลมาก่อนหรือเปล่า รวมถึงพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็มีผลต่อการสมัครด้วย

ทำความเข้าใจเรื่องระยะเวลารอคอย
ไม่ใช่ทุกคนที่สมัครทำประกันสุขภาพแล้วจะได้รับการอนุมัติกรมธรรม์ บางคนมีโรคมาก่อนทำประกัน จึงต้องมีข้อกำหนดที่เรียกว่า “ระยะเวลารอคอย (Waiting Period)” เพื่อป้องกันการเรียกค่าสินไหมเกินจากสภาพที่เป็นมาก่อนเอาประกันภัย แต่ละบริษัทจะกำหนดระยะเวลารอคอยแตกต่างกัน ตั้งแต่ 30 - 120 วัน ขึ้นอยู่กับแผนประกันภัย

หากระหว่างอยู่ในระยะเวลารอคอยแล้วคุณมีอาการป่วยต้องเข้ารับการรักษาในข้อยกเว้นที่ขัดแย้งกับเงื่อนไขการรับรองผู้เอาประกัน ทางบริษัทประกันภัยก็มีสิทธิ์ปฏิเสธความคุ้มครอง และคืนเงินค่าชำระเบี้ยได้

ที่มา www.oic.or.th

อ่านเพิ่มเติม...

Let's block ads! (Why?)



"สุขภาพ" - Google News
August 01, 2020 at 02:28PM
https://ift.tt/2CYPMO5

เทคนิคการเลือกซื้อ "ประกันสุขภาพ" ก่อนซื้อ ต้องดูอะไรบ้าง! - ไทยรัฐ
"สุขภาพ" - Google News
https://ift.tt/2TYvbic

No comments:

Post a Comment